Type Here to Get Search Results !

Editorial: เมื่อ RIM และ Microsoft ถึงคราวหลังชนฝา จากการมาของ Apple และ Google

0


มาปั่นบทความสั้นๆ ให้อ่านกันครับ กับการใช้งานในยุค Mobile Device ที่มีทางเลือกให้คนใช้งานอย่างเรามากมายหลายแพลตฟอร์ม A G M R สุดท้ายใครจะอยู่รอด?

ก็เขียนไม่ค่อยจะเป็นเสียด้วยกับบทความวิเคราะห์ แบบว่าไม่ใช่นักวิจารณ์ที่ฝีมือ ฝีปากกล้า ดุ เด็ด เผ็ด มันส์ ชวนให้ติดตาม แต่เป็นในตามสไตล์เรียบๆ เรื่อยๆ มาเรียงๆ เลยจัดสักหน่อย มีหลายอย่างวนเวียนอยู่บนหัวเสร็จแล้ว มันก็หายไป วันนี้ไปอัพเดทข่าวาสารต่างๆ จากเว็บต่างประเทศ จึงได้แนวคิดและต้องรีบมาปั่นก่อน มันจะหายไปอีกรอบ



จากยุคสมัยของอุปกรณ์ดังเช่น Smartphone ที่เริ่มนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ตอนนี้เราจะเรียก Smartphone ก็อาจจะไม่ถูกซะทีเดียว เพราะปัจจุบัน มีหลากหลายขนาดหน้าจอ มีทั้งใช้โทรได้และไม่ได้ และที่สำคัญเราเริ่มใช้งานด้านข้อมูลเข้ามาแทนที่การสื่อสารแบบเดิมๆ ที่ใช้เสียงเพียงอย่างเดียว แน่นอนว่าผมคงจะเรียกอุปกรณ์ที่เราถือๆ กันอยู่รวมๆ ว่าเป็น Mobile Device หรืออุปกรณ์พกพา เคลื่อนที่ ที่หลากหลายแพลตฟอร์มเสียเหลือเกิน (เข้าเรื่องได้สักที)

นั่นล่ะครับ หลากหลายแพลตฟอร์ม แต่ละแพลตฟอร์ม หรือ OS ก็มาจากคนละบริษัท ต่างก็ต้องการผลักดันให้ OS ของตนเองก้าวขึ้นมาในลำดับต้นๆ ในการครองใจผู้คนเพื่อจะต่อยอดทางธุรกิจ ที่ไม่ใช่ขายตัว hardware เพียงอย่างเดียว ปัจจุบันจะเห็นว่า software ก็ทำรายได้เป็นอันดับต้นๆ เช่นเดียวกัน คงไม่ต้องพูดถึงว่าใครจุดประเด็นหรือใครเป็นผู้นำ คงไม่พ้น Apple แต่จริงๆ แนวคิดนี้มีมานาน หากแต่ Apple สามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้ แต่จากที่จั่วหัวบทความเอาไว้ ตอนนี้ผู้เล่นรายหลักที่เรียงตามชื่อตัวอักษร Apple, Google, Microsoft และ RIM ต่างก็ขับเคี่ยวกันอย่างที่เราติดตามกันอยู่ทุกวัน

ผู้เล่นรายเก่าแก่ที่เกิดมาก่อน ตั้งแต่สมัย Mobile Device ยังไม่เป็นที่นิยมมากเหมือนในปัจจุบันอย่าง Microsoft และ RIM สถานการณ์โดยรวมต่างก็ไม่ค่อยจะสู้ดี ถึงแม้ว่า RIM จะเคยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงที่สุดในอเมริกา แต่ปัจจุบันลดน้อยถอยลงไปมาก รวมถึง Microsoft เองก็เช่นเดียวกัน สองค่ายนี้จะเห็นว่าเน้นการขายเป็น Solution หรือเจาะลูกค้ากลุ่มองค์กรในระดับ Enterprise ซึ่งหลายปีก่อนที่ผ่านมามีทางเลือกไม่มากนัก และแน่นอนว่าทั้งสองค่ายต่างก็มีจุดเด่นจุดด้อยต่าง กัน ยกตัวอย่างเช่น RIM มี Blackberry เป็นระบบทั้งแบบ BES และ BIS อย่างที่เราทราบกันอยู่แล้วว่ามีความปลอดภัยสูงมาก และติดต่อสื่อสารผ่านทาง push mail รวมถึง Blackberry Messenger ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้หลายๆ องค์กร นิยมนำมาใช้งานกัน แต่ก็ตามมาด้วยต้นทุนที่สูงโดยเฉพาะ BES สำหรับ Microsoft เองก็เรียกว่าเป็นเจ้าพ่อในวงการ Desktop มานาน และแน่นอนมี Solution เข้าไปทำตลาดด้วย ผูกติดอุปกรณ์ Windows Mobile เดิมๆ เข้ากับระบบ ถึงแม้ว่าระบบความปลอดภัยจะไม่มากเท่า RIM แต่เนื่องจาก หลายๆ องค์กรยังคงผูกติดกับ Microsoft software ต่างๆ ที่สามารถทำงานเข้ากันได้ ทำให้มีองค์กรมากมายเลือกใช้งาน และเป็นปัจจัยนึงที่เบียด Palm ผู้ผลิตอีกรายตกกระป๋องไป ทั้งสองค่ายต่างก็ครองตลาดกันมานาน จนกระทั่ง ...

Apple วางแผนระยะยาวในการทำตลาด โดยส่ง Mobile Device ที่เรียกว่าเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้งาน หรือผลิกโฉมหน้าประวัติศาตร์ของการใช้งาน Mobile Device ด้วยการออก iPhone รุ่นแรกพร้อม iOS ที่เน้นการใช้นิ้วสัมผัส ซึ่งเป็นที่นิยมจนกระทั่งล่าสุด iPhone 4S ในปัจจุบัน แต่ช่วงแรก Apple เน้นทำตลาด consumer หรือ user ทั่วๆ ไป โดยมีการพัฒนารองรับการทำงานในองค์กรควบคู่กันไปด้วย จนปัจจุบัน ความแตกต่าง หรือความยืดหยุ่นในการใช้งานระดับองค์กร Apple ก็ไม่ได้เป็นรองใคร อาจจะด้วยกระแสของผู้ใช้งานทั่วไป ที่มีมากจนทำให้องค์กรต่างๆ ต้องปรับตัวรองรับกับ iPhone จนทำให้มี Solution ออกมารองรับ เช่นเดียวกับ Android จาก Google ที่งานนี้เล่นเป็นระบบเปิด ทำให้มมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีพาร์ทเนอร์มากมายที่มาช่วยทำตลาด ทำให้ Android ก็ติดอันดับต้นๆ มาคู่กับ iOS ในไม่ช้า ซึ่งการมาของทั้งสองรายนี้ ทำให้ผู้เล่นรายเก่าต้องมีการพัฒนามากขึ้น แต่ทว่าอาจจะไม่ทันเสียแล้ว เก่าไป ใหม่มา ดูท่าจะเป็นคำที่ไม่ตกยุค ตกสมัยเลยจริงๆ

จนในปัจจุบัน Market Share หรือส่วนแบ่งการตลาด ทั้ง Apple และ Google ต่างก็จับมือกันไปทำได้รวม 82% ซึ่งเป็นตลาดหลักในสหรัฐอเมริกา โดย Android ได้ไป 53% มีส่วนแบ่งมากกว่า iOS ที่มีเพียง 29% เท่านั้น ในขณะที่ Android ที่เข้ามาครั้งแรก มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ประมาณ 30% นั่นแสดงว่า iOS เสียส่วนแบ่งไปให้ Android ประมาณ 20% ซึ่งในแถบเอเชียคงไม่ต่างกันมากนัก หากแต่ฐานผู้ใช้งาน ณ ปัจจุบัน เทรนด์ตลาดในเอเชีย มีมากกว่าทำให้ Google ที่มีพันธมิตรมากมายเข้ามาทำตลาดในเอเชีย เช่น Samsung, HTC ส่วน Apple จับมือกับโอเปอเรเตอร์เป็นหลัก ถึงแม้ว่าจะมี Apple shop หรือว่า iStudio ในบ้านเรา แต่ส่วนใหญ่ก็ยังจำหน่ายกับโอเปอเรเตอร์ซะส่วนใหญ่ เชื่อว่าผู้ใช้งาน iOS ในเอเชียสูสีกับ Android แต่ทว่าในอนาคต Android คงแซงหน้าไปไม่ยากเพราะเจาะทุกกลุ่มทุกราคา แต่ iOS เจาะเฉพาะตลาดบนที่มีราคาสูง ซึ่งเมื่อทั้งสองรวมกันส่วนแบ่งตลาดก็คงมีมากกว่า 80% เช่นเดียวกับส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐอเมริกา

โดย Blackberry และ Windows Phone ยังคงรั้งท้าย แต่ Blackberry จาก RIM ดูดีมีภาษีกว่าคาดว่าจะมีส่วนแบ่งเกิน 10% ซึ่งBlackberry ยังคงเติบโตในตลาดต่างจังหวัด หรือหัวเมืองใหญ่ๆ เช่นจังหวัดเชียงใหม่ จากการเปิดตัวรุ่นล่าสุดไปไม่นานนี้ รวมถึง RIM ยังผลักดัน dev community อย่างเต็มที่ในบ้านเรา โดยมี blackberryclubthailand รองรับกลุ่มนักพัฒนา ส่วน Windows Phone จาก Microsoft ในบ้านเรายังไม่สรุปว่า keyboard และการแสดงผลภาษาไทยแบบสมบูรณ์ยังไปในทิศทางใด ส่วนแบ่งคงไม่เกิน 5% ซึ่ง Microsoft ยังมีอาณาจักรของ PC อยู่เดิม ซึ่งโจทย์ใหญ่ของ Microsoft คือจะทำยังไงให้ผู้ใช้งานที่ยังเป็นลูกค้าที่ดีบน PC หันมาใช้ Windows Phone มากขึ้น และคงฝากความหวังเอาไว้ที่ Windows 8 และพยายามจับกลุ่มนักพัฒนาต่างๆ จาก web และ C/C++ ซึ่ง Microsoft มีเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาทำงานได้ง่ายขึ้น

ซึ่งงานนี้หลังชนฝากันทั้ง RIM และ Microsoft ทางเดินและตัวเลือกที่มีไม่มากนักของทั้งสองผู้เล่นที่เกิดมาก่อน จะไปในทิศทางใด ต้องติดตามกันในปีหน้า ที่คาดว่าคงจะมีการแข่งขันสูงขึ้น และแพลตฟอร์มหรือ OS ที่มีอยู่ในตลาดอาจจะมีรายใดรายหนึ่งหดหายไปก็เป็นได้

อ้างอิง google,
eweek

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น

buttons=(Accept !) days=(20)

Our website uses cookies to enhance your experience. Learn More
Accept !