Impact-Site-Verification: 71731b28-6515-46b4-a1fe-c3af7dfa427f สมองและเด็ก - เกริ่นนำแนวทาง และ แนะนำอุปกรณ์และคอนเทนต์ในการเลี้ยงลูกยุคไอที 4.0 - Happy Tech Blog

Header Ads

Hightlight

สมองและเด็ก - เกริ่นนำแนวทาง และ แนะนำอุปกรณ์และคอนเทนต์ในการเลี้ยงลูกยุคไอที 4.0




 
ผมคงไม่ใช่นักวิชาการแต่อย่างใด แต่จากประสบการณ์ตรงที่เป็นคุณพ่อลูกสอง ก็เอามาแชร์ การเลี้ยงลูกในอีกรูปแบบนึง เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ ที่อาจจะมีความคิด หรือแนวทางเดียวกันน่ะครับ แต่เนื่องจากเป็นคนที่ชอบเทคโนโลยีอย่างมาก อาจจะมีการประยุกต์สื่อไอทีต่างๆ มาใช้งานด้วย เริ่มต้นวันนี้ด้วย แนวทางก่อนก็แล้วกัน

    จริงๆ แนวทางการเลี้ยงลูก คงไม่มีผิด ไม่มีถูกซะทีเดียว ถูกของเราก็ไม่จำเป็นต้องถูกของคนอื่นเสมอไป ผมว่าทุกวันนี้เรามีเพจที่น่าติดตามหลายเพจบน facebook เกี่ยวยกับการเลี้ยงลูก เช่น หมอเสาวภา เลี้ยงลูกเชิงบวกซึ่งเราก็เอาข้อมูลมาคิด วิเคราะห์ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับลูกของเราได้ สิ่งนึงที่ผมสนใจเกี่ยวกับเด็กเลยก็คือ สมองนั่นเอง ก่อนหน้านี้เคยอ่านหนังสือของคุณหนูดี ที่เกี่ยวกับสมองของเรา ซึ่งน่าสนใจมาก มนุษย์เราเป็นสิ่งเร้นลับ ไม่ใช่อะไรที่ไหนนะครับ ที่น่าศึกษามากที่สุดเลย ทั้งด้านร่างการ การพัฒนาการต่างๆ รวมถึงสมองด้วย



    อุปกรณ์ในการเลี้ยงลูก สิ่งที่สำคัญจากที่อ่านๆ มานะครับ ก็คือของเล่น นั่นล่ะ จะเป็นอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องแอนตี้ขนาดเล่นอะไรก็ไม่ได้ เช่นกระแสก่อนหน้านี้ ที่ไม่ให้ลูกเล่นเกมส์ และลูกก็เก่งมาก ไม่ติดเกมส์ เรียนดี อะไรประมาณนี้ อย่างที่บอกว่าไม่ผิดหรอกครับ แต่การที่จะบอกว่าคนอื่นๆ ที่เล่นเกมส์แล้วผิด นี่สิ เราเลี้ยงลูก จะเป็นอย่างไร ยังไงนั้น ผมว่ายังไงก็ลูกเรา เราก็รักอยู่ดี แต่การเอาไปเปรียบเทียบกับคนอื่น โดยที่ตัดสินว่าผิดเลยนี่ก็ไม่ใช่ อย่างที่บอกล่ะครับว่าไม่มีผิดถูก สำหรับการเลี้ยงลูกของแต่ละครอบครัว เพราะสภาวะแวดล้อม ฐานะ การศึกษา การดูแลของพ่อแม่ และตัวแปรอื่นๆ อีกมากมายที่คนเราแต่ละคนไม่เหมือนกันสักนิดเดียว เราเลยมีผู้คนในโลกนี้ ที่แทบจะไม่เหมือนกันเลย กลับมาที่อุปกรณ์ในการเลี้ยงลูกอีกนิดนึง จริงๆ ก็ควรเล่นตามวัยของเขา อย่างคุณพ่อไอทีอย่างผมมีครบ Smartphone, Tablet Notebook, Android Box, Game Console แล้วเราจะคอนโทรลลูกยังไง? ก็ออกตัวก่อนเลยว่าไม่ได้บอกนะครับ ว่าลูกผมไม่ติดสิ่งเหล่านี้ พ่อยังใจไม่แข็งพอ และยังอยู่ระหว่างการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา (แล้วจะมาแชร์อะไร?) ผมว่าจะมาแชร์เรื่องของคอนเทนต์ ที่เด็กควรจะได้รับเสียมากกว่า อุปกรณ์เหล่านี้ก็เป็นเพียงช่องทางที่เข้าถึงคอนเทนต์ คอนเทนต์หรือเนื้อหาที่เด็กจะได้รับเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด ดังนั้นเราควรควบคุมคอนเทนต์ ที่ลูกเข้าถึงด้วย นอกจากที่ควบคุมเรื่องเวลาในการใช้งาน


แต่เด็กในวัยเล็กๆ ที่พอจะหยิบจับสิ่งของได้แล้ว บางบ้านก็ให้หยิบ Smartphone หรือ Tablet ใส่มือ ให้ลองใช้ และลองสอนให้ใช้เลย ซึ่งจริงๆ ผมว่าก็ได้นะ ให้เขาได้เรียนรู้ แต่ต้องเลือกคอนเทนต์ให้ดีนั่นเอง อย่าให้มากหรือน้อยเกินไป ถ้าหากเด็กไม่รู้จักเลย ว่ามันคืออะไรยังไง ความคิดเห็นของผม ก็คงไม่ดี แต่ถ้าใช้งานจนติดเลยก็ไม่ดีอีกเช่นกัน ดังนั้นก็จงเดินทางสายกลาง แนะนำให้รู้จักเบื้องต้นในการใช้งานเท่านั้น คอนเซ็ปท์ผมเป็นแบบนี้ครับ


- ให้ลูกรู้ว่าใช้ยังไง เช่นการเลื่อน หรือปัดหน้าจอ เพื่อเปลี่ยนหน้า หรือ กดลูกศร เพื่อเลื่อนไปข้างหน้า สัญลักษณต่างๆ ว่าใช้อะไรยังไง แต่หลักๆ แล้วเดี๋ยวเขาลองดู เขาก็จะจำได้เอง ว่ากดตรงนี้ ไปหน้านี้ กดตรงนี้ กลับมาหน้าเดิม เด็กเรียนรู้เร็วมาก ลองให้เขาใช้สักสองสามครั้งก็จะคุ้นชิน ดังนั้นใครที่กลับลูกจะไม่ทัน ไม่ต้องห่วงเลย เด็กในยุคนี้เกิดมากับ Smartphone, Tablet Notebook, Android Box, Game Console อยู่แล้ว ถ้ายังไม่ถึงวัยล่ะก็อย่าเพิ่งรีบให้เขาใช้ก็แล้วกัน ผมว่าวัยที่ควรใช้งานก็ต้องเกิน 3 ขวบขึ้นไป อาจจะไม่ตรงกับคอนเซ็ปท์ที่หลายๆ คนอ่านหรือพอเจอมานะครับ ส่วนตัวผม ผมคิดว่าลูกผมได้จากคอนเทนต์เหล่านี้อยู่พอสมควรเลยทีเดียว โดยดูจากภาพรวมๆ และสังเกตมาตลอดระยะเวลา ซึ่ง ณ ขณะนี้คนโต 5 ขวบ และคนเล็ก 3 ขวบ แล้ว




- วิธีการใช้งาน และเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ในทุกครั้งถ้าเป็นไปได้ ควรดูอยู่กับลูกตลอดเวลา และคอยแนะนำเขาอย่างใกล้ชิด อย่าเพียงโยนสิ่งเหล่านี้ให้เขาเพียงอย่างเดียว เท่านั้นเอง

- ตามเพจคุณหมอ และหนังสือต่างๆ เราต้องสังเกตุพฤติกรรมลูก หากมีความมากเกินไป เกิดอารมณ์ก้าวร้าว ไม่ให้ใช้งาน Smartphone/Tablet แล้วร้องไห้ งอแง เกิดอาการต่างๆ ขึ้น ซึ่งผมเชือว่าเรารู้ ก็ควรจะหยุดยาวๆ แล้วพาเด็กๆ ไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ให้เขาลืมสิ่งเหล่านี้ไปซะ และนั่นก็แสดงว่า เราให้เขาใช้งานมากเกินไป

- เรื่องเวลาการใช้งานส่วนตัวผม หากวัดเป็นสัดส่วนก็คือสัก 10-20% จากเวลาที่เขามีอยู่ ถ้าให้เห็นภาพอาจจะสักวันละ 10-15 นาที ตามช่วงอายุ หากโตหน่อยก็สัก 20-30 นาที ก็น่าจะเพียงพอ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่มาตรฐานนะครับ ขึ้นอยู่กับเด็กๆ ด้วย เราก็ต้องกำหนดเองล่ะว่า ควรจะใช้ได้สักกี่นาที



- ต่อเนื่องครับ คือคนเทนต์ หากเด็กๆ ติดเป็นเวลานาน นั่นหมายถึง เขากำลังสนุกอยู่กับอะไรสักอย่าง ถ้าเราอยู่ใกล้ชิดจะรู้ว่าลูกติดอะไรอยู่ และจนแกะออกจากสิ่งเหล่านั้นโดยเร็ว ตามวิธีที่บอกไปแล้วนั่นล่ะครับ นั่นหมายถึง คอนเทนต์ที่เราเลือกอาจจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว และผมก็ไม่ได้บอกว่าโยน Smartphone/Tablet แล้วให้ไปเล่นเกมส์นะ แต่คอนเทนต์ที่ผมจะนำเสนอในช่วงแรก ก็คือเสียงเพลงครับ หลายคนอ่านๆ มาถึงตรงนี้แล้ว นึกว่าจะเป็น เกมส์ หรือหนังการ์ตูนใช่ไหมล่ะ อันนั้นก็ใช่ครับ แต่ไว้ทีหลัง ที่ผมแนะนำคือเพลง



- เพลง(คอนเทนต์)อะไร? จริงๆ แนวเพลง จะว่าถึงศาสตร์นี้ ก็เพียบ มีมากมายหลายแนว อยากจะ rock ก็เกินไป จริงๆ ผมชอบฟังพวก Alter ประมาณ Silly Fool สมัยโตโน่น Paradox ออกแนวว้ากๆ นิดๆ หรือที่ติดเลยก็คือ Linkin Park นี่ล่ะ แต่เด็กๆ คงไม่ได้ฟังขนาดนี้ จากหนังสือหลายๆ เล่ม เสียงเพลงมีผลต่อคลื่นสมอง และเค้าก็วิเคราะห์กันมาแล้วว่า บรรดาเพลงบรรเลงทั้งหลาย หรืออารมณ์พวก Mozart อะไรประมาณนั้นเลย ซึ่งถ้าเป็นไปได้ควรให้ฟังตั้งแต่อยู่ในท้องเสียด้วยซ้ำ นอกจากคุณลูกแล้ว คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่จะได้อารมณ์ดีอีกด้วย คลอดออกมาก็ควรให้เขาฟังได้เลย แต่เด็กในวันแรกเกิดส่วนใหญ่จะนอนซะเป็นส่วนใหญ่ล่ะนะ




- ฟังผ่านอะไรดี? ทุกวันนี้ก็คงเป็น Smartphone/Tablet ที่ติดตัวอยู่ ง่ายสุด แต่ไม่แนะนำ เพราะปกติเราจะใช้งานอื่นๆ อยู่ด้วย การที่จะวางไว้เพื่อเปิดเพลงให้เด็กๆ ฟังคงไม่สะดวก และไม่ต่อเนื่องอย่างแน่นอน ดังนั้นแนะนำง่ายๆ ครับ หาซื้อได้ไม่แพงมากนัก ไม่กี่ร้อยก็ได้แล้วเดี๋ยวนี้ก็คือ MP3 Speaker ราคาถูกกว่าแต่ก่อนเยอะ ถ้ามีงบเยอะหน่อยก็เอาแบบที่มีแบตในตัวชาร์จได้ พกไปที่ไหนๆ ก็ได้ ซื้อทีเดียวใช้ประโยชน์ได้หลายๆ อย่างหน่อย




และ Thumb drive สักอัน 16GB หรือเอาถูกที่สุด 8GB ก็ได้ หรืออาจจะเป็น micro SD สักอัน ผมว่างบประมาณก็สัก 500 น่าจะเอาอยู่นะ




เบื้องต้นแค่นี้เองครับ ซึ่งถ้าเป็นประสบการณ์ตรงของผมคือ ให้ฟังตั้งแต่ในท้อง แต่ก็ไม่ได้มากมายอะไร แต่คลอดมาก็เปิดให้ฟังอยู่ตลอดเวลา เป็นเพลงชุดเดิมๆ ซ้ำๆ นั่นแหล่ะครับ ไม่แค่นั้น ผมยังมีกิจกรรมประกอบเพลงด้วย พอลูกโตขึ้นมาหน่อย คอแข็งแล้ว ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะสัก 6 เดือนหรือไม่ก็ 1 ขวบ นอกจากเปิดเพลงแล้ว ยังอุ้มลูก โยกไปมาตามเพลงอีกด้วย เรียกว่าเป็นกิจกรรมเข้าจังหวะก็แล้วกัน หรือจะเรียกว่าเต้นไปตามเพลงก็ไม่ผิด ไม่ได้เต้นเป็นท่าทางอะไรนะครับ แค่โยกซ้าย ขวา หน้าหลัง แค่นั้นเอง แต่บางจังหวะหากเป็นจังหวะที่คึย๋สูงและต่ำสลับกัน หรือท่อนฮุค หรือเพลงที่สนุกๆ ก็อาจจะมีโลดโผนบ้างนิดนึง มีโยนลูกเบาๆ ก็ด้วย (อันนี้ก็แล้วแต่อายุนะ) ซึ่งเด็กๆ ก็สนุก เราก็สนุกไปด้วย ได้ออกกำลังกายด้วย ได้หลายทางเลยนะ อันนี้ และพอเขาโตขึ้น พอเปิดเพลงนี้ เค้าจะคุ้นเคย และบางครั้งก็มาเต้นเข้าจังหวะด้วยนะ

แนะนำคอนเทนต์
Mozart Lullaby Youtube สำหรับเด็กๆ ตอนนอนเลยล่ะครับ
The Best of Bach 
The Best of Beethoven 
อันนี้ จริงๆ หาดูเอาใน Youtube ได้เลยนะครับ หาคำว่า Lullaby หรือว่า mozart ประมาณนี้ก็ได้ครับ
หรืออุดหนุน สำหรับ iOS


การนำเพลงออกมาจาก youtube เพื่อใช้งานส่วนตัวง่ายๆ ก็เข้าที่ www.keepvid.com แล้วเอาลิงค์ทืี่เราต้องการ วางไว้แล้วกด Download ครับง่ายๆ แค่นี้ แล้วเลือกไปที่ไฟล์แบบ MP3 นำมาใช้ได้เลย ตามภาพด้านบน

ทั้งหมดนี้คงเป็นแนวทางการเลี้ยงลูก รูปแบบนึงในยุคดิจิตอล หรือไอที 4.0 นี้ที่มีอุปกรณ์ไอทีต่างๆ มากมายล้วนเข้ามาในชีวิตเราทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ ยังไงซะอยู่ที่เราเลือกใช้งานล่ะครับ

ขอให้สนุก และมีความสุขในการเลี้ยงลูกครับ

ไม่มีความคิดเห็น

======= Start Skimlink ======= ======= Stop Skimlink =======