คุยแป๊ป! แฮปปี้! เงินใน e-wallet หายไปไได้ไง?
ปัจจุบันผมเองก็เริ่มใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์มาสักพักใหญ่แล้ว แต่ว่าใช้ในการจ่ายบิลต่างๆ ซะมากกว่า ผมว่าหลายๆ คนก็เคยใช้งากัน เนื่องจากการจ่ายบิลผ่านแอปที่เรียกว่าเป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-wallet มักจะไม่มีค่าธรรมเนียม ซึ่งสะดวกไม่ต้องไปเสียค่าธรรมเนียม และไม่ต้องเดินไปจ่ายที่หน้าเค้าท์เตอร์ให้เสียเวลา และสามารถผูกบัตรเครดิตได้อีกต่างหาก อันนี้คือสะดวกแล้วใช้เงินอนาคตอีกด้วย เก็บสะสมแต้มกันไป ได้ประโยชน์หลายต่อ ที่ผ่านมากระเป๋าเงินที่โปรโมตกันเยอะที่สุดคงไม่พ้น True Money Wallet มีโปรโมชั่นต่างๆ เยอะมาก จ่ายบิลนี่ฟรีกันไปเลย อย่างของ mPay เองก็จ่ายบิลฟรีเหมือนกัน แล้วแต่ชอบ แต่จะมีจำกัดว่าฟรีกี่บิลต่อเดือน ก็เป็นทางเลือก เพราะสอง e-wallet นี้คือ wallet ของค่าย True และ AIS นั่นเอง ก็เป็นคู่แข่งกันโดยตรงในฝากของโมบายโอเปอเรเตอร์ มาเจอกันในตลาดเงินอิเล็กทรนิกส์อีก ซึ่งมาช่วงหลังเอง mPay ก็สามารถนำมาซื้อสินค้าผ่านทางร้านค้าออฟไลน์ได้ แต่ก็ไม่ได้เป็นกระแสแมส จะมีเฉพาะบางอีเวนต์ที่จัดขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งก็ไม่มากนัก และล่าสุดทาง AIS เองก็จับมือกับ Line Pay Rabbit ซึ่งเริ่มมีการใช้จ่ายผ่านร้านค้าแบบออฟไลน์มากขึ้น ล่าสุดใช้จ่ายเกิน 30 บาทขึ้นไป ได้ตังค์คืนผ่าน Rabbit Line Pay 10 บาท นี่ก็สะสมมาได้เกือบร้อยบาทละครับ แถมยังมีโปรโมชั่นซื้อของร่วมกับ AIS ด้วย ก็กลายเป็นว่า mPay ไม่ได้ลุยด้านร้านค้าออฟไลน์ แต่เป็นการจับมือกับพาร์ทเนอร์อย่าง Rabbit Line Pay แทน ส่วนฝาก True Money Wallet เองในช่วงหลังก็ลุยร้านค้าแบบออฟไลน์เช่นกัน มีโปรโมชั่นในช่วงแรกที่โปรโมตบ้าง แต่ถ้าในแอปเค้ามีเกมให้เล่นตลอดเวลา แล้วรอลุ้นพวกเงินคืน หรือไม่ก็ชิงของรางวัลอะไรประมาณนั้น ล่าสุดมีแจกรถทุกเดือนมีถึงเดือนหน้าด้วยนะ แต่ไม่เท่านั้นยังสามารถใช้ซื้อของที่ 7-Eleven ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าไปใช้บริการกันมากอยู่แล้ว มีเงินคืนให้ด้วย เรียกว่าซื้อของแล้วได้ลดราคาจากโปรโมชั่นที่มีอยู่แล้วทุกเดือนใน 7-Eleven นั่นล่ะครับ
ไหนๆ ก็ไหนๆ ก็พูดถึงเรื่องของฝั่งธนาคารกันนิดนึงก็แล้วกัน แต่ก่อนการมาของการใช้จ่ายแบบออฟไลน์ของโมบายอเปอเรเตอร์ ก็ต้องบอกว่าทางธนาคารนี่ล่ะที่สร้างกระแส นำโดย SCB ตามมาด้วยค่ายอื่นๆ ทั้ง KBank (ธนาคารกสิกรไทย), KTB (ธนาคารกรุงไทย) , GSB (ธนาคารออมสิน) เพิ่งมาในช่วงปีนี้เองที่เห็นชัดเจนว่าเรื่องการจ่ายเงิน หรือบิลต่างๆ รวมถึงการโอนเงินข้ามธนาคาร ไม่เสียค่าธรรมเนียม และอื่นๆ ที่เราเห็นตามข่าว เรียกว่าธนาคารก็ลงมารุกตรงตลาดนี้ด้วยเช่นเดียวกัน คงยอมปล่อยเรื่องเงินๆ ทองๆ ไปให้คนอื่นที่ไม่ได้อยู่ในสายธุรกิจโดยตรงไม่ได้ ตอนนี้เราเห็น QR Code ในร้านค้าต่างๆ มากมาย ซื้อข้าว ซื้อน้ำ ขนม เดี๋ยวนี้ไม่ต้องควักเงินสด จ่ายผ่านแอปธนาคารแต่ละค่ายได้เลย และอีกสิ่งนึงที่ผลักดันด้วยก็คือ Promtpay ที่เป็นคลื่นลูกแรกในช่วงปีก่อนหน้านี้ ทุกวันนี้ผมก็เปิดแอปธนาคารใช้จ่ายสบายๆ เช่น ศูนย์อาหารที่เซ็นทรัลเวสเกตต์ แลกบัตรที่ใช้ซื้อของในศูนย์อาหาร 100 บาทผ่าน K Plus ของธนาคารกสิกรไทย ก็ได้เงินมา 115 บาท โดยบัตรนี้ไม่สามารถคืนเงินได้ เรียกว่าเข้าถึง และใช้งานกันได้จริงจัง สะดวกมาก ซึ่งการมาของบริการเหล่านี้ก็คงไม่พ้นเรื่อง Smartphone ในปัจจุบันที่เข้าถึงคนได้มากขึ้น
แต่ล่าสุด e-wallet ของค่าย True Money Wallet มีผู้ร้องในพันทิพย์ว่า เงินใน Wallet สูญหาย จากกระทู้นี้ ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปว่าเป็นเช่นไรกันแน่ แต่ก็มีข้อสังเกตหลายอย่างเหมือนกัน เช่นการทำธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะมี SMS ยืนยันว่าเราทำอะไรไปกับใครจำนวนเงินเท่าไหร่ ซึ่งเวลาใช้งานผมก็ได้รับตลอดทุกครั้งไม่มีพลาด อีกจุดนึงก็น่าแปลกก็คือเงินที่มีอยู่บน e-wallet ปกติต้องไม่เกิน 30,000 บาท และตัวเลขของรายการ มี 15 หลัก ก็อาจจะเป็นใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ปลอมแปลงขึ้นมา ก็เป็นไปได้ งานนี้ก็ยังต้องรอสรุปเรื่องที่เกิดขึ้นอีกครั้ง แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือเรื่องของบริการหลังจากเกิดปัญหา ในเคสแบบนี้ เป็นเคสสตัสดี้ที่ดีอีกรูปแบบนึง ซึ่งนอกจากจะร้องต้นทางแล้วอาจจะต้องร้องไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยที่เป็นผู้จัดการเรื่องการเงินอีกด้วย จะว่าไปเรื่องเงินๆ ทองๆ ทางธนาคารอาจจะมีการจัดการได้ดีกว่านี้ แต่ถ้าเลือกใช้งานแล้ว เราควรหาทางป้องกันตัวเราเอาไว้ก่อนจะดีกว่า และต้องสังเกตดีๆ เช่นการที่มีคนโอนเงินเข้ามาใน e-wallet ถ้าผูก promtpay ด้วยแล้ว ก็น่าจะมี SMS มายืนยันรายการ นอกจากใบเสร็จที่ปลายทางส่งมาให้ว่าโอนแล้ว ต้องมาเช็คตัวเลขว่าตรงกันหรือไม่ยังไง รวมถึงอย่าง True Money Wallet มีอีเมลส่งมายืนยันด้วย ก็ตรวจสอบกันหลายๆ ทาง บางทีไม่ได้รับ SMS แต่ได้อีเมล ก็แสดงว่าระบบ SMS อาจจะมีปัญหา และการใส่เงินในกระเป๋า e-wallet ในการทำธุรกรรมกับเงินจำนวนมาก ปกติเกิน 30,000 บาท อาจจะต้องยื่นเรื่องขอขยายวงเงิน เพราะงานนี้คงเอามาทำธุรกิจ อาจจะซื้อขายของหรืออะไรซะมากกว่า การใช้จ่ายทั่วๆ ไป แต่ก็มีเคสชำระบัตรเครดิตที่บางทีอาจจะใช้เกิน 30,000 บาท แต่ก็ใช้วิธีการชำระบัตร 2 ครั้ง เพราะค่าธรรมเนียมไม่เสีย จริงๆ มันคงมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกล่ะครับ ในการป้องกันตัวเอง แล้วแต่ลักษณะหรือพฤติกรรมการใช้งาน e-wallet ของแต่ละคน แต่ยังไงก็ตามที การสำรวจตัวเอง และยืนยันการทำรายการตลอดทุกครั้ง จะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด เพราะเงินทองเมื่ออยู่บนโลก digital แล้ว บางครั้งมันก็อาจจะสูญหายได้ โดยบางทีอาจจะไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้านและไหลออกไปบัญชีไหนก็ไม่รู้ภายในไม่กี่อึดใจ
ภาพประกอบจาก sumhr
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น