ออเดิร์ฟจานแรกผ่านไป เมื่อสัปดาห์ที่แล้วกับ ETOPs: Mobile Banking ในชีวิตประจำวัน พร้อมใช้แล้วหรือยัง? มาลองชิมรสชาติของจานแรกกับเรื่องของ Mobile Banking ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากในยุคนี้ จากที่หลายคนต้องปวดหัวกับการทำธุรกรรมไม่เว้นในแต่ละวัน ซึ่ง Mobile Banking เข้ามามีบทบาท และสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวเหล่านี้ลงได้แน่นอน แถมประหยัดเวลาอีกต่างหาก วันนี้ผมจะพามาทำความรู้จัก Mobile Banking ให้มากยิ่งขึ้น มาติดตามกันครับ
หลังจากที่มีฟีดแบ็ค จาก ETOPs: Mobile Banking ในชีวิตประจำวัน พร้อมใช้แล้วหรือยัง? สังเกตุเห็นว่า มีหลายคนที่ใช้งาน Mobile Banking กันมาบ้างแล้ว และก็มีอีกหลายคนที่ใช้ Internet Banking ผ่าน Mobile ซึ่งก็มีหลากหลายธนาคาร ที่เลือกใช้บริการกันอยู่ แน่นอนว่าช่วยเพิ่มความสะดวกให้เราได้มากเลยใช่ไหมล่ะครับ ส่วนใครที่ยังไม่ได้ใช้งาน ผมแนะนำว่าพออ่าน บทความนี้จบ ก็หามาใช้งานกันได้เลย แล้วชีวิตจะสบายขึ้นอีกเยอะเลย
ก่อนอื่น ขอเกริ่นกันอีกนิดนึง สำหรับการใช้งาน Mobile Banking ซึ่งในการใช้งานตั้งแต่อดีตเราจะเริ่มรู้จักและใช้งานกันแบบ iBanking หรือที่ย่อมาจาก Internet Banking โดยใช้งานผ่าน PC หรือ Desktop ส่วนในยุคนี้มือถือหรือ Smartphone เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก ทำให้การบริการของ iBanking ติดตามตัวเราไปทุกที่ จนยุคนี้ที่เป็น Mobile Banking อย่างแท้จริง เพราะมีการออกแบบ และพัฒนาขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นระบบความปลอดภัย หรือรูปร่างหน้าตา (UI) ต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งานบนแพลตฟอร์มต่างๆ ที่มีอยู่บน Smartphone ของพวกเราโดยเฉพาะ เช่น Android, Blackberry, iOS, Windows Mobile/Phone
ความหมายของ Mobile Banking
Mobile หมายถึง โทรศัพท์มือถือ Banking หมายถึง การธนาคาร นั่นคือความหมายตรงตัว เมื่อเอามารวมกัน ความหมายง่ายๆ เลยก็คือ ธนาคารบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งผมขอขยายความให้เป็นนิยาม แบบที่ผมเข้าใจว่า "เป็นการทำธุรกรรมการเงินทางธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือ" โดยผมรวบเอาการใช้งาน iBanking มาอยู่บนนี้ด้วย ซึ่งเป็น "การใช้งานธุรกรรมทางการเงินทางธนาคารผ่านอินเตอร์เน็ท" แน่นอนว่า ไม่ใช่แค่บน PC หรือ Desktop เท่านั้น ในปัจจุบันกล่าวรวมถึงบนโทรศัพท์มือถือด้วย เพราะปัจจุบันนี้ โทรศัพท์มือถือ ฉลาด และสามารถต่ออินเตอร์เน็ทได้นั่นเอง ดังนั้นผมจึงเรียกการให้บริการแบบนี้ว่าเป็น "iBanking on Mobile" หรือ "Mobile iBanking" คงไม่ผิดนัก โดยเป็นการนำระบบ iBanking เดิมที่มีการระบุ user และ password ย่อลงมาใช้งานบนโทรศัพท์มือถือของเรา ส่วนอีกแบบนึงคือ การพัฒนาขึ้นมาที่เหนือกว่า iBanking เดิมๆ รองรับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะ มีระบบ PIN Code เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น ซึ่งทั้งสองส่วนล้วนแล้วแต่เป็นการทำงานบน Mobile Banking ด้วยกันทั้งนั้น มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะงง เอาเป็นว่า การที่เราใช้งานธุรกรรมทางการเงินทางธนาคารผ่านโทรศัพท์ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็แล้วแต่ ล้วนเป็น Mobile Banking ด้วยกันทั้งนั้น
ก่อนหน้านี้ ในยุคอินเตอร์เน็ทเริ่มมีปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นตามเทคโนโลยีของความเร็วที่ให้บริการ จาก Kbps เป็น Mbps ทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงบนหน้าเว็บ iBanking มาโดยตลอด ก่อนหน้านี้ระบบ OTP ยังไม่แพร่หลายจนปัจจุบัน ธนาคารโดยส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ใช้วิธีการนี้ทั้งนั้น เพราะเป็นระบบความปลอดภัยที่เรียกว่าน่าเชื่อถือที่สุด และนอกจากนั้นเมื่อมาถึงยุคของ Mobile Internet ทำให้บริการของ iBanking ก็เข้าสู่การใช้งานแบบ Mobile เช่นเดียวกัน การให้บริการในเรื่องของความเร็วบน Mobile กำลังก้าวข้ามไปถึง Mbps ตามไปด้วย ที่ผมพูดถึงความเร็วบน Mobile มันคือเรื่อง 3G นั่นเอง พูดเรื่องนี้แล้วยาวได้อีก แต่คิดว่าคงกำลังจะได้ใช้งานกันเร็วๆ นี้
แต่ถ้าเอ่ยถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงแล้วล่ะก็ ต้องบอกว่า Apple เป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้บริการทางด้าน Mobile Banking มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ด้วยการรองรับใช้งานกับ browser ที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนหากไม่มี Internet Explorer จะไม่สามารถเข้าใช้งาน iBanking ได้ แต่ปัจจุบันไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป ด้วยเทคโนโลยีหลายๆ ด้านรวมกัน รวมถึงบรรดาอุปกรณ์อย่าง iPhone และ iPad ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ทำให้มีการปรับรูปแบบการให้บริการ Mobile Banking อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน วันนี้หากธนาคารไหน ไม่สามารถทำธุรกรรมผ่าน iPhone หรือ iPad ได้แล้วล่ะก็ เรียกว่าสื่อให้เห็นถึงการบริการที่ตามไม่ทัน และสื่อให้เห็นถึงความเอาใจใส่และการให้ความสำคัญสำหรับบริการ Mobile Banking ซึ่งบางธนาคารทำมากไปกว่า iBanking ผมเรียกว่าได้ยกระดับไปอีกขั้นด้วยการลงทุนพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติม ให้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ในแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ ซึ่งแน่นอนว่าทำให้เราใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น สะดวกและรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ URL ยาวๆ ใน browser ให้เสียเวลา แถมยังมีความปลอดภัยที่มากยิ่งขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น K-Mobile Banking Plus, SCB Widget , KTB Mobile ลองสำรวจดูว่า บริการ Mobile Banking ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ธนาคารไหนที่ยังก้าวมาไม่ถึงจุดนี้บ้าง ก็ลองพิจารณาดูครับ ว่านอกจากความน่าเชื่อถือด้านการเงิน การลงทุน ความมั่นคงของธนาคาร จำนวนสาขาที่ให้บริการ การบริการของพนักงาน ฯลฯ อีกสิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่า จะเป็นอีกหนึ่งข้อสำคัญในการพิจารณาเลือกใช้ธนาคารนั้นๆ คือ Mobile Banking และยุคต่อไปของ การทำธุรกรรมทางการเงินบนโทรศัพท์มือถือ ที่กำลังจะตามมาคือ Mobile Payment ที่เป็นมากกว่าการจ่ายหรือซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ทางออนไลน์ มันเกี่ยวเนื่องกันจนเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะมาช่วยเพิ่มความสะดวกในอนาคตอย่างแน่นอน จะเลือกซื้อ Smartphone สักเครื่องในอนาคตอันใกล้อย่าลืมเผื่อเรื่องการรองรับ NFC มาด้วยนะ และเมื่อมี Smartphone แล้ว อย่าลืมเลือกธนาคารที่มีบริการให้ด้วย แต่กว่าจะใช้ได้จริงในบ้านเราคงมีอีกสักสองสามปีเป็นอย่างต่ำล่ะผมว่า
Mobile Banking มีบริการอะไรบ้าง?
คงพอจะเข้าใจกันมากขึ้นนะครับสำหรับเรื่อง Mobile Banking ที่อยู่ใกล้ตัวเราจริงๆ แต่ยังไม่จบบทความนะครับ ก่อนจะออกทะเล ไปไกลกว่านี้ มาต่อเรื่อง Mobile Banking ว่าเค้าให้มีบริการอะไรได้บ้าง ลองมาดูกันครับ
- สอบถามยอดในบัญชี
- โอนเงิน
- จ่าย/ซื้อ สินค้าและบริการ
- เติมเงินโทรศัพท์มือถือค่ายต่างๆ
- ทำธุรกรรมอื่นๆ เกี่ยวกับบัญชี
รายการด้านบนคงเป็นรายการเบื้องต้น หรือรายการที่เรามักจะใช้งานกันประจำ ที่เรามักจะทำบ่อยที่สุดสำหรับคนทั่วไป คงเป็นเรื่องของการโอนเงิน จากที่เกริ่นไปในบทความที่แล้ว ถึงธนาคารต่างๆ ที่ให้บริการกันอยู่ เนื่องจากผมคงไม่สามารถมีรายละเอียดได้ครบทุกธนาคาร มีตัวอย่างและข้อมูลเท่าที่ได้ใช้งานกันอยู่นะครับ ตัวอย่างที่ขาดไปคงเป็นของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่มีเพื่อนๆ มาแชร์ข้อมูลว่ารองรับการใช้งานบน iPhone ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งอันนี้่คงต้องให้เพื่อนๆ ที่ใช้งานมาช่วยแบ่งปันประสบการณ์การใช้งานกันอีกครั้ง ลองมาคุยกันได้ครับ เพื่อท่านอื่นๆ ที่ผ่านเข้ามาอ่าน จะได้ความรู้และข้อคิดเห็นนำกลับไปประยุกต์ใช้งานได้ ซึ่งในบทความผมยังขอใช้ธนาคารหลักๆ เช่นเคย เราลองมาดูสิว่า ธนาคารต่างๆ จะมีบริการและรายละเอียดอะไรบ้าง อาจจะยาวอีกสักหน่อย แต่รับรองว่าได้รายละเอียดเพียบครับ
ธนาคารกสิกรไทย เป็นธนาคารที่ฟังชื่อแล้วรู้สึกว่าเน้นทางด้านกสิกรรม หรือทางด้านเพาะปลูก แบบบ้านๆ แต่จริงๆ แล้วธนาคารนี้เรียกว่าอินเทรนด์ไม่เบาเลยทีเดียว เท่าที่ได้ติดตามเป็นผู้นำทั้งเรื่อง Social Network และ Mobile Banking ที่มีการพัฒนาการใช้งานให้รองรับ Smartphone ได้หลายแพลตฟอร์ม เรียกว่าที่เยอะที่สุดในประเทศเลย ณ ตอนนี้ อีกเดี๋ยว เชื่อว่าหลายธนาคารคงปรับตัวตามๆ กันมา สามารถหาดาวโหลดไปใช้งานได้ มีชื่อว่า K-Mobile Banking Plus ทั้งบน iPhone, Android, Blackberry, Windows Mobile โดยบางแพลตฟอร์มก็เป็นแอพพลิเคชั่นให้เรียกใช้งานได้สะดวกอีกด้วย
ธุรกรรมที่ทำได้ก็จากรูปด้านบน (หยิบมาจากรีวิวก่อนหน้านี้) เรียกว่าไม่แพ้รายอื่นเหมือนกัน ส่วนรายละเอียดจากธนาคาร เข้าเว็บไปดูรายละเอียดจากธนาคาร มีค่อนข้างเยอะพอดู ผมขออนุญาตคัดลอกข้อมูลทั้งจากเว็บและแหล่งข้อมูลออฟไลน์ที่ได้จากทางเจ้าหน้าที่ธนาคารมาแนะนำกันเลยนะครับ
ข้อมูลจากธนาคาร
K-Mobile Banking PLUS
เร็ว ใช้งานง่าย ด้วยเทคโนโลยีล่าสุด
บริการธนาคารและสิทธิพิเศษผ่านทางโทรศัพท์มือถือรูปแบบล่าสุด หลายหลากบริการในที่เดียว
ทั้งเช็ค โอน เติม จ่าย ซื้อกองทุน และสิทธิพิเศษมากมายกับ Mobile Magazine ทำงานรวดเร็วผ่าน ระบบ GPRS / EDGE / 3G ใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่ายหลัก
และเหนือกว่าด้วยระบบ Graphic interface สวยงาม เข้าใจง่าย การใช้งานไม่ซับซ้อน กดไม่กี่ที ไม่ถึงนาทีก็เสร็จ
ทั้งเช็ค โอน เติม จ่าย ซื้อกองทุน และสิทธิพิเศษมากมายกับ Mobile Magazine ทำงานรวดเร็วผ่าน ระบบ GPRS / EDGE / 3G ใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่ายหลัก
และเหนือกว่าด้วยระบบ Graphic interface สวยงาม เข้าใจง่าย การใช้งานไม่ซับซ้อน กดไม่กี่ที ไม่ถึงนาทีก็เสร็จ
พร้อมระบบ Intelligent system บันทึกรายการที่ใช้บ่อยได้ ไม่ต้องเสียเวลากรอกใหม่ เมื่อชีวิตง่ายขึ้น ความสุขก็มากขึ้น
เพียงดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม K-Mobile Banking PLUS ลงในเครื่องและสมัครใช้บริการ ที่ตู้ ATM ธนาคารกสิกรไทยคุณก็พร้อมจะทำธุรกรรมทางการเงิน หลากหลายทุกที่ ทุกเวลา ที่ต้องการ ด้วยเทคโนโลยีที่ปลอดภัย
* ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือหลัก ( AIS, dtac และ True Move )
ถามยอด
คุณสามารถสอบถามยอดเงินในบัญชี หรือยอดบัตรเครดิตที่ผูกกับโทรศัพท์มือถือ
โดยรายการที่ทำได้ผ่านเมนูนี้ คือ
โดยรายการที่ทำได้ผ่านเมนูนี้ คือ
- สอบถามยอดเงินคงเหลือในบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน
- สอบถามยอดเงินที่ใช้ไปและวงเงินคงเหลือของบัตรเครดิต
โอนเงิน
คุณสามารถทำการโอนเงินระหว่างบัญชีตนเองที่ผูกกับโทรศัพท์มือถือ และโอนเงินไปที่บัญชีอื่นภายในธนาคารกสิกรไทย และต่างธนาคารได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเมื่อทำรายการเรียบร้อยแล้ว สามารถส่ง SMS แจ้งการโอนเงินไปยังโทรศัพท์มือถือของผู้รับ อีกทั้งยังสามารถบันทึกรายการ เพื่อเก็บไว้ใช้ในคราวต่อไปได้อีกด้วย ผ่านเมนูดังนี้
เมื่อคุณทำรายการเสร็จเรียบร้อยแล้ว บนหน้าจอจะแสดงข้อความ "ทำรายการเรียบร้อย"คุณสามารถเลือกใช้เมนู "เพิ่มเติม / Options" ที่จะช่วยให้คุณใช้งานได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ผ่านเมนูดังนี้
จ่าย / ซื้อ
คุณสามารถชำระค่าสินค้า และบริการต่างๆ ผ่านเมนู จ่าย/ซื้อ (Payment & Purchase) โดยหลังจากที่ทำรายการเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถบันทึกธุรกรรมนั้นๆไว้ใช้ในครั้งต่อไปได้ โดยรายละเอียดเมนูซื้อและจ่ายมีดังนี้
เติมเงินโทรศัพท์มือถือ
คุณสามารถเติมเงินโทรศัพท์มือถือตนเอง และเบอร์อื่นได้ทุกค่าย AIS, dtac, True Move และ Hutch โดยหักเงินจากบัญชีที่ผูกไว้กับบริการ K-Mobile Banking PLUS
รายการย้อนหลัง
คุณสามารถดูรายการย้อนหลังที่ได้ทำผ่านบริการ K-Mobile Banking PLUS
ไม่ว่าจะเป็น รายการโอนเงิน เติมเงิน ชำระค่าสินค้าและบริการ ผ่านเมนูดังนี้
ไม่ว่าจะเป็น รายการโอนเงิน เติมเงิน ชำระค่าสินค้าและบริการ ผ่านเมนูดังนี้
จัดการบัญชี
คุณสามารถ เพิ่มหรือลบรายการที่ใช้บ่อย / เพิ่มหรือลบบัตรเครดิตกสิกรไทย / ลบบัญชีออมทรัพย์ / ตั้งชื่อย่อบัญชี / ตั้งค่าอีเมลแอดเดรสที่จะให้ระบบส่งข้อมูลมายืนยัน ผ่านเมนูดังนี้
คุณสามารถเพิ่มบัญชีออมทรัพย์ที่จะใช้กับ K-Mobile Banking ได้ 8 บัญชี แค่ไปที่สาขา เพื่อตรวจสอบ และยืนยันตัวตน (identify) โดยการกรอกแบบฟอร์ม เพื่อป้องกันการแอบอ้าง ลูกค้าจะสามารถใช้งานได้
คุณสามารถดูความเคลื่อนไหวบัญชี ไม่ว่าจะเป็นการโอน ถอน ในแต่ละวัน ทุกช่องทางในมือถือ ผ่านเมนูรายการเดินบัญชีวันนี้ (Today's Transaction)
และยังมีข้อควรรู้เรื่องระบบความปลอดภัยเพิ่มเติมอีก รายนี้เค้าใส่ไว้เต็มเหนี่ยวจริงๆ ที่น่าคิดคือรายนี้เค้าไม่ได้ใช้ OTP ( One Time Password) บน Mobile แฮะ
ระบบความปลอดภัยชั้นสูง Triple Lock Security*
พร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชม.
ด้วยความเป็นผู้นำแห่งระบบความปลอดภัยระดับมาตรฐานโลกในทุกๆ เทคโนโลยี ของ K-Mobile Banking ยืนยันด้วยจำนวนผู้ใช้กว่าล้านคนทั่วประเทศ และเหนือกว่าด้วยระบบล่าสุด Triple lock security*ที่มีระบบการป้องกัน
ถึง 3 ชั้น
ถึง 3 ชั้น
1. ระบบป้องกันการเข้าใช้งาน (User Protection) ด้วยเทคโนโลยี Triple lock Security* ระบบมีการตรวจสอบข้อมูล 3 ชั้น ได้แก่
โดยทุกอย่างต้องตรงกันเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าใช้งานระบบได้ และหากใส่รหัสผ่านผิดครบ 3 ครั้งระบบจะ lock อัตโนมัติ ไม่สามารถใช้งานได้
2. ระบบป้องกันขณะทำธุรกรรม (Transaction Protection)
ที่ป้องกันการเจาะข้อมูลด้วยการส่งข้อมูลผ่าน SSL 128-bit ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานระดับโลก นอกจากนี้ยังมีระบบควบคุมจากศูนย์กลาง session control ที่สามารถยกเลิกการใช้งานหากไม่มีความเคลื่อนไหวในการทำรายการเกิน 3 นาที ผู้ใช้บริการต้องเข้าสู่ระบบใหม่โดยใส่รหัสผ่านอีกครั้ง
3. ระบบป้องกันการเข้าถึง และปกป้องข้อมูลทางการเงินของลูกค้า (High Security Customer Data Protection) โดยทุกข้อมูลการเงินของคุณ จะไม่ถูกเก็บที่มือถือ แต่จะถูกเก็บที่คอมพิวเตอร์หลักของธนาคารกสิกรไทย ที่มีระบบการป้องกันข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลการเงินของผู้ใช้บริการ ที่ผ่านการยอมรับจากธนาคารแห่งประเทศไทย และบริษัททางด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยี
คุณจึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยกับทุกประเภทของ K-Mobile Banking ที่สำคัญ เราได้เตรียมเจ้าหน้าที่ Call Center ที่พร้อมดูแลคุณทุกเรื่องตลอด 24 ชม. จึงปลอดภัยและอุ่นใจได้กับทุกๆ การใช้บริการของเรา เท่าที่รู้ต้องผ่านการตรวจสอบจากแบงก์ชาติ และต้องจ้างบริษัทที่ชำนาญเรื่องการเจาะระบบความปลอดภัยระดับสากลมาตรวจวสอบ จนไม่มีช่องโหว่ถึงจะให้บริการได้
* Triple Lock Security เป็นระบบปลอดภัยชั้นสูงของ K-Mobile Banking PLUS
อย่างที่บอกครับว่ารายนี้เค้าใส่รายละเอียดแบบจัดเต็ม สมกับที่เรียกตัวเองว่าเป็นผู้นำด้านไอทีจริงๆ โดยเฉพาะในส่วนของ Mobile Banking ไม่รวมถึง iBanking ที่ใช้งานผ่านหน้าเว็บปกติได้อยู่แล้ว ผมเองก็ใช้งานอยู่เหมือนกัน จากที่รีวิวไปเมื่อครั้งก่อน ช่วงนั้นมีจัดโปรโมชั่นเรื่อง Foursquare ไปตามล่า Bage กันช่วงนึง ได้หมอนมาด้วย และจึงได้รู้จักกับแอพนี้ จากพนักงานที่คอยแนะนำอยู่ ก็ได้ใช้งานมาอย่างต่อเนื่อง โดยเจ้า K-Mobile Banking Plus ผมใช้งานบน iPhone ปัจจุบันลองกับ Android แล้วก็โอเค ใช้งานได้เหมือนกัน ดูเหมือนว่าจะเป็นการเรียกใช้งานบนผ่าน WAP browser ทำให้ใช้งานได้ครบทุกแพลตฟอร์ม แค่ไม่ใช่เป็นหน้าของ iBanking ของธนาคาร แต่เป็นเรียกจาก K-Mobile Banking โดยตรงเลย ที่สังเกตุเห็น จุดที่ต่างจากธนาคารรายอื่นก็คือ จำแค่รหัสผ่าน ที่เราตั้งบนตู้ ATM ในการเปิดใช้งานครั้งแรก แค่นั้นเอง สรุปคือจำเลขอีกหนึ่งชุดสำหรับเข้าใช้งาน K-Mobile Banking Plus เค้ามีระบบความปลอดภัยอย่างที่เห็นด้านบนนั่นล่ะ ส่วนเวลาใช้ชำระค่าบัตรเครดิต หากเราใส่อีเมลเอาไว้ หลักฐานการจ่ายหรือโอนเงิน ก็จะส่งมายืนยันที่เมลของเราเลย เอาไว้ยืนยันได้ว่าเราทำรายการไปเรียบร้อยแล้ว หรือนำไปกรอกข้อมูลเพื่อ นำ e-slip มาอ้างอิงได้เลย ธนาคารคงเบี้่ยวเรายากแล้วล่ะ เมื่อมีหลักฐานขนาดนี้ และยังใช้จ่ายเรื่องเติมเงินมือถือที่ไม่ต้องค่าบริการเพิ่ม พวกชำระบิลต่างๆ ก็มีทั้งฟรีและเสียตังค์ ประมาณ 10 บาทต่อรายการ ตั้งแต่เปิดก็ได้ใช้บริการไปไม่น้อยเหมือนกัน ลองโทรติดต่อไปเพื่อเปลี่ยนเครื่องใช้งานจาก iPhone ไป Android ก็ไม่ยาก แค่ยืนยันตัวตนแค่นั้นเอง ไม่กี่นาทีก็เปิดใช้งานได้ ที่เค้าว่ามี Call Center คอยรับสายอยู่ 24 ชั่วโมงนี่ เดี๋ยวต้องลองโทรไปตอนดึกๆ หน่อย ว่าเหมือนที่เค้าโปรโมทไว้หรือเปล่า เผื่อต้องติดต่อขอใช้ด่วนหรือปรึกษาการใช้งานฉุกเฉิน เวลาภรรยาคลอด (เกี่ยวไหมเนี่ย)
มีข้อมูลจากทางธนาคาร
สะดวกทุกที่
ผู้ใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง สามารถทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ ดังนี้
- ตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวทางบัญชี
- โอนเงิน
- เติมเงินโทรศัพท์มือถือ
- ชำระค่าสินค้าและบริการ
- เรียกดูธุรกรรม 5 รายการล่าสุดในรอบ 180 วันที่ผ่านมา
ท่านสามารถใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ทางโทรศัพท์มือถือได้โดยไม่ต้องสมัครหรือลงทะเบียนเพิ่มเติม ไม่ต้อง
เปลี่ยนซิมการ์ด หรือย้ายเครือข่าย และไม่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรมใดๆ เพิ่ม
ใช้ฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือรายปี ธนาคารให้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ทางโทรศัพท์มือถือโดยไม่มีค่าธรรมเนียมการใช้บริการแต่อย่างใด โดยธนาคาร
จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมในอัตราปกติ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่) และกรุณาตรวจสอบอัตราค่า
บริการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทางโทรศัพท์มือถือและความสามารถในการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตกับผู้ให้บริการ
เครือข่าย
ครบทุกความต้องการ เมื่อใช้งานคู่ไปกับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
ธนาคารอยู่ในระหว่างการพัฒนาบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ทางโทรศัพท์มือถือ ให้สามารถบริการท่านได้อย่างครบถ้วน
ยิ่งขึ้นในอนาคต โดยขณะนี้ หากท่านต้องการทำธุรกรรมด้านบริการโอนเงินหรือชำระเงินให้บุคคลที่สามแบบกำหนด
ล่วงหน้าหรือกำหนดชำระเป็นประจำ การเพิ่มรายชื่อบัญชีผู้รับโอนเงินบุคคลที่สาม การตั้งค่าภาษาในการใช้บริการ บริการ
แบงก์เมล บริการโอนเงินต่างธนาคารแบบเข้าบัญชีผู้รับในวันเดียวกันหรือวันถัดไป กรุณาทำรายการผ่านบริการบัวหลวง
ไอแบงก์กิ้งทางคอมพิวเตอร์ของท่าน
มีแค่ดูรายการบัญชี โอนเงิน และชำระเงิน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว สำหรับธุรกรรมหลัก ที่เราใช้งานกัน ซึ่งผมขอยกธนาคารนี้เป็นเพียง Mobile iBanking เท่านั้น รายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมเท่าที่ดู คิดว่ายังมีน้อยจริงๆ น่าจะเป็นรายแรกๆ ที่ให้บริการ iBanking แต่พอมายุค Mobile Banking แล้ว ผมรู้สึกว่ายังไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าที่ควร น่าเสียดายจริงๆ เพราะเป็นธนาคารหลักที่ผมใช้เลยนะเนี่ย อยากให้มีการพัฒนามากกว่านี้จริงๆ นะครับ สู้ๆ
ธนาคารกรุงไทย รายนี้ มีแอพพลิเคชั่นบน iPhone มาให้โหลดกันเป็นตัวเป็นตน แถมมี interface น่าใช้งานอีกด้วย ลองดูสิว่าให้บริการอะไรบ้าง
ข้อมูลจากทางธนาคาร
บริการ KTB online @ Mobile เป็นบริการที่ให้คุณสามารถทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ได้สะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลาผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเครือข่าย ไม่ต้องเปลี่ยนซิม เพียงใช้โทรศัพท์ที่สามารถเชื่อมต่อ Internet ก็เข้าถึงบริการ KTB Online @ Mobile ได้ง่ายๆ ไม่ต่างกับการใช้ Internet บนมือถือทั่วไป
- สอบถามยอดเงินคงเหลือในบัญชี ไม่ว่าจะเป็นบัญชีเงินฝาก, บัญชีเงินกู้, ข้อมูลบัตร ATM/VDB
- โอนเงิน ระหว่างบัญชีตนเอง/บุคคลอื่น ภายในธนาคาร
- โอนเงินไปยังบัญชีเงินฝากประจำ 3, 6, 12 เดือน
- โอนเงินต่างธนาคาร*
- ชำระค่าสินค้าและบริการที่เป็นที่นิยมได้ทันที โดยไม่ต้องเพิ่มหน่วยงานไว้ก่อน หรือ เพิ่มหน่วยงานที่ต้องการชำระอื่น เพิ่มเติมได้ทันทีทางโทรศัพท์มือถือ**
- ชำระเงินกู้บัญชีตนเอง (Home Loan, Personal Loan, Term Loan, Agricultural Loan)
- เรียกดูรายการเดินบัญชีย้อนหลังได้สูงสุด 60 วัน
- เรียกดูประวัติการทำรายการโอนเงิน/ชำระเงิน 5 รายล่าสุด
- บริการกองทุน KTAM : ซื้อ / ขาย / สับเปลี่ยน / ยกเลิกรายการ / เรียกดู Portfolio
- เปลี่ยนรหัสผ่าน
- ตั้งค่าภาษาในการใช้งาน(อังกฤษ/ไทย)
- แจ้งผลการทำรายการผ่านทางอีเมล์หรือ SMS (ตามที่ได้ระบุไว้)
หมายเหตุ :*การโอนเงินระหว่างธนาคาร สามารถโอนเงินได้สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท ต่อรายการ สามารถทำรายการได้ทุกวันระหว่างเวลา 6.00 น. - 21.00 น.
** การชำระเงิน หรือ การเพิ่มหน่วยงานผ่านทางโทรศัพท์มือถือ จะต้องลงทะเบียนเบอร์โทรศัพท์มือถือ เพื่อขอรับรหัส TOP ไว้ล่วงหน้า
ขอบอกว่ารายนี้มีครบถ้วน กระบวนความ จะทำรายการอะไรก็สบาย มีระบบเรื่อง OTP ที่รอรหัสผ่านทาง SMS เพื่อยืนยันการทำรายการ ด้วย เรื่องความปลอดภัยหายห่วง การทำธุรกรรมต่างๆ ก็สบาย ทำได้คล้ายกับ iBanking บน Desktop เลยทีเดียว ที่สำคัญเป็น Mobile Banking ที่สะดวกจริงๆ นะรายนี้ ชอบที่มี UI ที่น่าใช้งานสวยงาม แต่ธนาคารนี้ผมใช้เป็นที่เก็บเงิน แต่จนแล้วจนรอดก็มีอันต้องถอนมาใช้ทุกทีสิน่า
ธนาคารไทยพาณิชย์ เห็นรายนี้เน้น Social Network ไม่เบาเหมือนกัน มีแอพพลิเคชั่นบน iPhone ให้ดาวโหลดได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องขยันโหลดหน่อย เพราะเค้าทำมาเป็น widget ที่แยกการทำรายการมาชัดเจน และผมเพิ่งนึกออกว่าที่เค้าโปรยไว้ว่าเป็นธนาคารแห่งแรก ซึ่งจากข้อมูล ธนาคารได้รับการแต่งตั้งจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อว่า บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด ตั้งแต่ปี 2449 โน่นแน่ะ ชื่อนี้อ่านมาจาก Siam Commercial นั่นเอง เนื่องจากผมเข้าใจว่าเมื่อก่อนเราออกเสียงภาษาอังกฤษกันไม่ค่อยชัด หรือยังมีความรู้น้อย จึงอ่านเสียงเลียนแบบเอา และคงเพี้ยนไปนิดนึง
ข้อมูลจากธนาคาร
EASY NET Widget
เพิ่มความสะดวกสบายให้คุณมากขึ้นในการทำรายการ โอนเงิน เติมเงินมือถือ ตรวจสอบยอดเงิน และอัพเดทโปรโมชั่นดี ๆ จากธนาคารได้ง่ายๆ ไม่ต้องเปิด Browser ไม่ต้องคีย์ URL แค่เพียงคลิกเดียวบน Desktop หรือ มือถือ ก็ทำรายการทางการเงินได้ทันที และบริการมากยิ่งขึ้นกับ Widget On Mobile ที่คุณสามารถทำรายการ โอนเงิน เติมเงินมือถือ ตรวจสอบยอดเงิน จากธนาคารได้ง่ายๆ เพียงคลิกเดียวบนมือถือของคุณ โดยไม่ต้องเปิด Browser ไม่ต้องคีย์ URL จริงๆ หากเป็น SCB Easy Net ที่อยู่บน Desktop หรือเป็น iBanking ฉบับเต็มทำรายการได้อีกเพียบเลย แต่บน Mobile ดูเหมือนจะถูกจำกัดไปนิดนึง
สำหรับ SCB แล้วมีแอพให้โหลดบน iPhone ซึ่งแยกเป็น Widget การทำธุรกรรมแต่ละแบบ ซึ่งผมเข้าใจว่าคงมีข้อมูลว่า ลูกค้าที่ใช้งานส่วนใหญ่ ใช้บริการเหล่านี้มากที่สุดนั่นเอง แค่เพียงเข้าไปที่ App Store แล้วค้นคำว่า SCB ก็จะมีให้โหลด 3 รายการ มีแยกเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หากต้องการใช้งานภาษาใดก็ให้เลือกโหลดภาษานั้นนะครับ เท่าที่ลองใช้งานก็สะดวกดี เป็นอีกธนาคารนึงที่ใช้บ่อยเหมือนกัน แบบว่ามีธุรกิจรัดตัวสุดๆ คอมเม้นท์เดียวคือถ้ามีออกมาให้ใช้งานครบๆ ทุกแพลตฟอร์มก็คงดีน่ะสิ
----- ทิ้งท้ายกันอีกนิดนึงดีกว่า เมื่อบทความก่อนหน้านี้มีเพื่อนๆ มาบอกว่ามีอีกธนาคารนึงเพิ่มเติม แต่ผมเพิ่มข้อมูลให้สองธนาคารก็แล้วกันครับ ------
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นธนาคารที่บังเอิญผมเป็นลูกค้าเงินกู้นะ น่าจะเป็นรายใหญ่สำหรับผม แต่ดันไม่มีทั้งบัญชีธนาคารนี้ ATM และ บัตรเครดิต ใครเป็นนายหน้าบัตรเครดิต จัดมาให้หน่อย จึงเป็นเหตุให้ไม่มีข้อมูลมากนัก แต่เอาจากที่ผมทราบจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ผมหามาก็แล้วกันครับ มาดูกันว่าธนาคารรายนี้เค้าเป็นไงบ้าง
เรียกใช้งานจาก iPhone ได้เลย แต่สำหรับ Blackberry ต้องตั้งค่าเพิ่มเติม
ข้อมูลจากธนาคาร
ขอบอกว่ารายนี้ก็จะมาคล้ายๆ กับ Mobile iBanking อีกหนึ่งรายเช่นเดียวกัน ไม่ได้มีแอพพลิเคชั่นบน iPhone ต้องเข้าไปที่ URL https://krugsri.com/mobile หากต้องการเพิ่มความสะดวกเมื่อเข้าลิงค์ไปเรียบร้อยแล้ว ให้กด Add Home Screen ซึ่งเป็นเมนูบน Safari แล้วเราจะได้ ICON อีกนิดนึงคือ Blackberry ก็ใช้ได้ด้วยนะ ใครใช้งานอยู่ลองเช็คดูครับ มีวิธีการตั้งค่าในลิงค์ที่ให้ไว้เรียบร้อยแล้ว
ส่วนเรื่องบริการเท่าที่เห็นในตัวอย่าง ก็จะสามารถสอบถามยอดในบัญชี โอนเงิน และรับชำระต่างๆ ได้ ส่วนรายละเอียดเหมือนธนาคารอื่นๆ ไม่ได้ระบุเอาไว้ ไม่รู้ว่ามากน้อยแค่ไหน เพื่อนๆ ท่านใดที่ใช้ก็ลองสอบถามแล้วมาเล่าสู่กันฟังนะครับ นี่ผมก็เป็นลูกค้า พอมาเขียนบทความเอง เกิดอยากใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกซะงั้น สงสัยต้องไปเปิดบัญชีเพิ่มซะแล้ว
ธนาคารทหารไทย เป็นธนาคารที่ผมเคยเป็นลูกค้าเมื่อหลายปีก่อน จนสุดท้ายไม่ได้ทำธุรกรรมเลยปล่อยให้ปิดบัญชีไปโดยปริยาย โดยช่วงหลังๆ ผมรู้สึกว่าเค้ารุกตลาดได้ไม่แพ้รายอื่นๆ เช่นกัน จะเห็นพี่ดู๋สัญญา ตามหน้าจอทีวีเป็นประจำ กับเงินฝากที่ถอนเมื่อไหร่ก็ได้ อันนี้รายละเอียดคงต้องไปติดต่อกับธนาคารดู แต่เรื่อง Mobile Banking ล่ะ?
พี่ดู๋เป็นพรีเซนเตอร์ให้ เหมาะจริงๆ? นึกว่าเค้าจะใช้คาแรคเตอร์แบบทหารเหมือนชื่อธนาคารซะอีก ไม่รู้ในมือพี่เค้าถือรุ่นไหนอยู่ แต่น่าจะอินเทรนด์แพลตฟอร์มในยุคนี้ล่ะมั้ง แต่ดูแล้วไม่น่าะใช่ iPhone เพราะคอนเซ็ปท์เค้าชัดเจนตามด้านล่าง
ข้อมูลจากธนาคาร
บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือ
ช่วยให้คุณตรวจสอบยอดเงิน, โอนเงิน หรือชำระค่าสินค้า และ บริการต่างๆโดยการทำรายการที่แสนสะดวกผ่านโทรศัพท์มือถือตลอด 24 ชั่วโมงใช้ได้กับทุกเครือข่ายและที่สำคัญ "ไม่ต้องเปลี่ยนซิม ไม่ต้องเปลี่ยนเบอร์ ไม่ต้องลงโปรแกรมให้ยุ่งยาก"
ต้องบอกว่าทำได้เหมือนๆ กัน แต่ยังเป็น Mobile iBanking เหมือนกับธนาคารส่วนใหญ่ แน่นอนรองรับการใช้งานบน iPhone ส่วน Blackberry, Android ไม่ยืนยัน แต่คาดว่าคงใช้งานได้ผ่าน browser เช่นเดียวกัน ส่วนบน iPhone ใช้วิธีเข้าไปที่ www.tmbdirect.com แล้วให้ Add Home Screen บน Safari เหมือนกับธนาคารอื่นๆ ส่วนรายละเอียด ด้านในคงไม่สามารถบอกได้เพราะไมีมีบัญชีเข้าไปใช้งานจริงนะครับ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ใช้บริการธนาคารนี้อยู่ หากใครใช้งานอยู่อย่าลืมมาแชร์กันบ้างครับ
คิดว่าน่าจะครบถ้วนกระบวนความ สำหรับการแนะนำให้รู้จัก รายละเอียดของ Mobile Banking ที่มีทั้ง Mobile Banking ที่มีมีแอพพลิเคชั่นให้โหลดในแพลตฟอร์มต่างๆ และ Mobile iBanking ที่ใช้งานไม่ยาก คงรู้จักกันมากยิ่งขึ้น หวังว่าเพื่อนๆ ผู้อ่านจะได้ รับรายละเอียดไปตรงตามจุดประสงค์นะครับ เรื่องการเลือกธนาคารก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานแต่ละคน แล้วแต่ความถนัด ความสะดวก รวดเร็ว อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือาจจะเป็นแพ็คเกจของ EDGE/3G ที่เลือกใช้งาน อีกส่วนนึงคงเป็นความชอบส่วนตัวนั่นล่ะ แต่ถ้าถามผมในยุคนี้ ธนาคารควรพัฒนาแอพพลิเคชั่น หรือพัฒนาออกมารองรับแพลตฟอร์มต่างๆ มากกว่าจะใช้ Mobile iBanking ผ่าน browser ปกติ ให้สมกับเป็น Mobile Banking จริงๆ เสียที เพราะว่าดีกว่า สะดวกกว่า ความปลอดภัยอาจจะเท่าๆ กัน แต่เรื่องประหยัดเวลา และสะดวกในการใช้งาน ส่วนตัวผมยังชอบแอพพลิ่ชั่นมากกว่าครับ ที่มีให้เลือกหลายธนาคารเหมือนกัน สุดท้ายไว้มาต่อในบทความถัดไป ดูสิว่าจะเอาอะไรมาเสิร์ฟกันอีก แต่คงเป็นเรื่อง Mobile Banking ต่ออีกสักพักนั่นล่ะ เอาให้ครบ
ขอบคุณข้อมูลและรายละเอียดจาก ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุศรีอยุธยา และธนาคารทหารไทย
บทความที่เกี่ยวข้อง ETOPs: Mobile Banking ในชีวิตประจำวัน พร้อมใช้แล้วหรือยัง?